วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิวัฒนาการของเครื่องบิน

     ถ้าพูดถึงเครื่องบินหลายๆ คนคงรู้จักกันเป็นอย่างดีแต่เคยมีใครสงสัยมั๊ยคะว่าเครื่องบินนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เกิดขึ้นมาตอนไหนและใครเป็นคนสร้าง เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าเครื่องบินมีความเป็นมาและวิวัฒนาการอย่างไรบ้าง


     นานมาแล้วที่มนุษย์มีความฝันที่จะบินได้เหมือนนกและความคิดนี้ได้ทำให้มนุษย์พยายามเสาะแสวงหาวิธีการที่จะทำให้มนุษย์บินได้ ในปีค.ศ.1060 บาทหลวงไอส์เมอร์ชาวอังกฤษ เลียนแบบการบินของนกด้วยการติดปีกที่แขนขาของตนเอง แล้วกระโดดลงมาจากยอดอารามในมังเมสบิวรี่ ร่างของเขาหล่นลงมากระแทกพื้นดินจนแขนและขาทั้งสองข้างหักในทันที แต่ความพยายามของมนุษย์ก็ไม่ได้ลดละ จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จเมื่อสองพี่น้องตระกูลมองต์โกลฟิเอร์ ชาวฝรั่งเศสนำบัลลูนขึ้นสุ่ฟากฟ้าได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1783 โดยจุดไฟไว้ด้านล่างเพื่อให้อากาศภายในร้อนทำให้เบากว่าอากาศข้างนอกและสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานถึง 25 นาที

     ปี ค.ศ.1853 จอร์จ เคย์ลีย์ วิศวกรชาวอังกฤษเป็นบุคคลแรกที่เห็นว่าการใช้ปีกบินเลียนแบบนกไม่ได้ผล เขาจึงสร้างเครื่องร่อนขึ้นในปี ค.ศ. 1853 และให้คนขับรถม้าเป็นผู้ทดสอบการบินที่แสนโหด จนที่สุดคนขับรถม้าของเขาก็ลาออกด้วยเหตุผลที่ว่า "ผมถูกจ้างมาขับรถ ไม่ใช่มาบิน"

     ต่อมาในปี ค.ศ.1891-96 ออตโต ลิเลียนธัล ชาวเยอรมันพยายามพัฒนารูปแบบเครื่องร่อนของเคย์ลีย์ เขาใช้ไม้ประเภทสนุ่นมาเป็นโครงในการยึดผืนผ้าใบ และใช้เนินดินสูงเป็นลานในการบินร่อน ออตโต เพียรทดลองเป็นพันครั้งแต่แล้วเขาก็ต้องจบชีวิตลงในการทดลองครั้งสุดท้าย เมื่อลมกรรโชกทำให้ผืนผ้าใบที่แสนจะบอบบางขาดในที่สุด

     ปี ค.ศ.1903 การบินอย่างแท้จริงที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกโดยพี่น้องตระกูลไรท์(Wright) ชาวสหรัฐอเมริกาที่เมือง Kitty Hawk ในมลรัฐแคโรไลน่าเหนือ ได้ทำการทดลองกับเครื่องร่อนหลายครั้งเพื่อจะค้นหาวิธีบังคับเครื่องบิน ในที่สุดก็ค้นพบว่าเครื่องบินของเค้าควรมีหางและมีอุปกรณ์ควบคุมอยู่ที่ปลายปีก โดยมีเชือกโยงจากที่นั่งของนักบินไปยังปลายปีกทั้ง 2 ข้าง เพื่อปรับมุมปลายปีกข้างใดข้างหนึ่ง ให้เครื่องบินเลี้ยวได้เช่นเดียวกับนกใช้กล้ามเนื้อปีกของมันในการบินนั่นเอง


     ปี ค.ศ.1907 กาเบรียลและชาร์ลส ฟัวซิน แห่งฝรั่วเศสเป็นชาวยุโรปบุคคลแรกที่สร้างเครื่องบินได้สำเร็จ เช่นเดียวกับเครื่องร่อนอื่นในยุคนั้นเครื่องบินปีกสองชั้นของเขาเป็นชนิดใบพัดหลังเครื่อง เฮนรี่ฟาร์แมนวิศวกรนักบินบังคับเครื่องบิน ฟัวซินไปได้ระยะทางมากกว่า 1 กิโลเมตร ในปี ค.ศ.1908

     ปี ค.ศ.1909 เบลเลียต ด้วยเงินจากการจำหน่ายไฟและอุปกรณ์รถยนต์ที่เขาประดิษฐ์ขึ้นเอง หลุยส์ เบลเลียต ขาวฝรั่งเศสจึงริเริ่มสร้างเครื่องบินขึ้นบ้าง ผลงานสร้างชื่อเสียงของเขาคือ การบินจาก ฝรั่งเศส ผ่านช่องแคบอังกฤษไปยังเมืองโดเวอร์ ประเทศอังกฤษได้ แสดงให้เห็นว่าเป็นการเดินทางจากทวีปยุโรปสู่สหราชอาณาจักรโดยเครื่องบินอย่างปลอดภัย
เบลเลียต


หลังจากนั้นเครื่องบินก็บินได้นานขึ้นและปลอดภัยขึ้น เมื่อความคิดที่จะบินขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นผลสำเร็จ การสร้างเครื่องบินในเวลาต่อมา ก็กลายเป็นการพัฒนาเครื่องบินเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป

     ปี ค.ศ.1911 เคอร์ติส กับ โฟล์ทพลน เกลน เคอร์ติส ชาวอเมริกันมีความคิดว่า เครื่องบินต้องใช้พื้นที่ดินเปล่าเป็นจำนวนมากในการลงจอด เขาจึงประดิษฐ์เครื่องบินที่สามารถร่อนลงจอดบนผิวน้ำได้ในปี ค.ศ.1911 และเป็นเครื่องบินชนิดแรกที่สามารถบินขึ้นและร่อนลงจอดจากดาดฟ้าเรือได้

     ปี ค.ศ.1912 อัฟโฟร 504 อัฟโฟร เป็นชื่อสั้นๆที่นักประดิษฐ์เครื่องบินชาวอังกฤษ เอ.วี.โร เป็นผู้ตั้งให้กับเครื่องบินในบริษัทของเขา อัฟโฟร 504 เป็นรุ่นที่ทรงประสิทธิภาพและถูกผลิตขึ้นถึง 10,000 ลำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการฝึกบิน และการจู่โจมทางอากาศ
อัฟโฟร 504

     ปี ค.ศ.1913 ฟาร์แมน เอฟ 40 เฮนรี ฟาร์แมน มีผลงานสร้างชื่อเสียงอีกครั้งเมื่อเขากับน้องชาย มัวริซ ร่วมกันสร้างเครื่องบิน เอฟ 40 ให้กับกองทัพใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ.1914-1918) เพื่อลาดตระเวน แต่ต่อมาได้พัฒนามากขึ้น กลายเป็นเครื่องบินสำหรับทิ้งระเบิดเครื่องแรกของโลก


     ปี ค.ศ.1918 พ็อคเกอร์ ดี.เซเวน ฟ็อคเกอร์ ฟลุกซัวเวิร์ค ชาวเยอรมัน เป็นบุคคลแรกที่สร้างเครื่องบินรบขึ้น เขาติดตั้งปืนกลที่ใบพัดเครื่อง ดังนั้นกระสุนจึงสาดกระจายไปทุกทิศทาง ดี.เซเวน เครื่องนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นเครื่องบินรบที่มีอนุภาพมากที่สุดในยุค 1918


     ปี ค.ศ.1919 อัลค็อค และบราวน์ นักบินชาวอังกฤษ จอห์น วิลเลียม และ อาร์เธอร์ ไวท์เทน บราวน์ คือนักบินคู่แรกที่บินข้ามหาสมุทรแอตแลนติก ได้โดยไม่หยุดพักเลยในปี ค.ศ.1919 เขาใช้เวลาในการเดินทางครั้งนั้น 4 วัน กับอีก 16.5 ชั่วโมง นับเป็นการบินระยะไกลที่สุดเท่าที่เคยมีมา
เครื่องบินที่อัลค็อคและบราวน์ใช้บินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยไม่หยุดพักเป็นครั้งแรก

     ปี ค.ศ.1927 ล็อกฮีด เวกา ล็อกฮีด เวกา เครื่องบินโดยสารสัญชาติอเมริกันถูกสร้างขึ้นในปี 1927 มันมีความเร็ว 177 กิโลเมตร/ชั่วโมง บรรทุกผู้โดยสารได้ 6 คน และไปได้ไกลถึง 885 กิโลเมตร (550 ไมล์) ด้วยปีกที่สร้างขึ้นสูงกว่าส่วนลำตัวเครื่องบินที่เพรียวลมทำให้รูปทรงมันคล้ายเครื่องบินโดยสารยุคปัจจุบัน

     ปี ค.ศ.1927 ชาร์ล ออกัสตุส ลินเบิร์ก วัย 25 ปี ผู้เป็นนักบินคนแรกที่บินเดี่ยวโดยไม่หยุดพัก ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก จากนครนิวยอร์กไปยังปารีส โดยใช้เครื่องบินใบพัด ปีกชั้นเดียว ชื่อ สปิริตออฟเซนต์หลุยส์ เมื่อวันที่ 20-21 ค.ศ.1927

     ปี ค.ศ.1930 จังเกอร์ส 52 ในช่วงระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง อากาศยานทุกประเภทถูกพัฒนาให้เจริญเติบโตขึ้น รวมทั้งอำนวยความสะดวกสลายในการเดินทางมากยิ่งขึ้น บริษัท จังเกอร์ แห่งประเทศเยอรมันนี ได้สร้างเครื่องบินขนาด 3 เครื่องยนต์ซึ่งเป็นเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ขึ้น ต่อมาจึงได้มีการสร้าง รุ่น 52 เอส และ เจยู 52/3 เอ็มเอสขึ้นตามลำดับ

     ปี ค.ศ.1933 โบอิ้ง 247 ได้ถือกำเนิดขึ้นแทนที่จะใช้ผ้าใบหรือกรอบไม้ในการประกอบตัวถังเครื่องบินอย่างที่แล้วมา โบอิ้ง 247 คือเครื่องบินที่แข็งแกร่งเพราะสร้างขึ้นจากเหล็ก นับว่าเป็นยุดสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังและถือเป็นต้นกำเนิดเครื่องบินโดยสารในปัจจุบันด้วย
โบอิ้ง 247

     ปี ค.ศ.1931 ซูเปอร์มารีน เอส 6 บี ในการแข่งขันความเร็วของเครื่องบินสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก เดอะ ชไนเดอร์ โทรฟี คือแชมเปี้ยนในการแข่งขันดังกล่าว ต่อมาในปี ค.ศ.1931 ซูเปอร์มารีน เอส 6 บี สัญชาติอังกฤษบินได้เร็วถึง 547.3 กิโลเมตร/ชั่วโมง (340.1ไมล์/ชั่วโมง) ทำให้บริษัทสร้างเครื่องบินคู่แข่งไม่กล้าที่จะผลิตอากาศยานเข้าร่วมแข่งขันกับ เอส 6 บี

     ปี ค.ศ.1936 เครื่องบินโดยสาร ดักลาส ดีซี3 ปี ค.ศ.1936 เกิดการพัฒนารูปแบบปีกของเครื่องบินให้บางขึ้นทำให้ต้นทุนในการผลิตเครื่องบินต่ำลง ผู้โดยสาร 21 คนของดักลาส ดีซี 3 คือคนกลุ่มแรกที่จ่ายค่าโดยสารเครื่องบินถูกลง

     ปี ค.ศ.1939 สปิทไฟร์ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1939 อังกฤษได้สร้างเครื่องบินรบขึ้นมาอีกระลอก ซูเปอร์มารีน สปิทไฟร์ คือ เครื่องบินโจมตีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ เมอร์ลิน ทำให้นักบินสามารถไต่ความสูงขึ้นไปได้ถึงระดับ 12,000 เมตร (40,000 ฟุต) เลยทีเดียว
สปีทไฟร์

     ปี ค.ศ.1947 เบล เอ็ก-1 ปี ค.ศ.1947 เบล เอ็ก-1 ถูกสร้างขึ้นด้วยสมรรถนะความเร็วสูง เป็นที่รู้กันดีว่า ความเร็วของมันเร็วเสียยิ่งกว่าความเร็วของเสียงอีก

     ปี ค.ศ.1943 เมสเซอร์ชมิท เอ็มอี 262 ปลายทศวรรษ 1920 อังกฤษได้พยายามพัฒนาแหล่งพลังงานขับเคลื่อนตัวใหม่ ให้กลายเป็นเครื่องเจ็ทขึ้น แต่การค้นคว้าวิจัยกลับไปได้เชื่องช้ากว้าที่คิด เยอรมันจึงได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกที่ผลิตเครื่องยนต์เจ็ทได้สำเร็จในปี ค.ศ.1943

     ปี ค.ศ.1949 โคเมท ภายหลังสงครามโลก นักออกแบบเครื่องบินต่างพยายามนำเครื่องยนต์เจ็ทมาปรับใช้กับเครื่องบินโดยสารและ เดอะ ฮาวิลแลนด์ โคเมท เป็นเครื่องบินโดยสารลำแรกที่ใช้เครื่องยนต์เจ็ท โดยให้บริการผู้โดยสารเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1949



หลังจากนั้นมาก็ได้มีการพัฒนาเครื่องบินออกมามากมายหลายรุ่นด้วยกัน แต่จะขอเอาเฉพาะรุ่นที่มีชื่อเสียง รู้จักกันดี

     ปี ค.ศ.1952 โบอิ้ง บี 52 เครื่องบินทิ้งระเบิดที่ใหญ่ที่สุดลำหนึ่ง คือ อเมริกัน บี 52 รุ่น สราต์โตรฟอร์เทรส ต่อมาในปี ค.ศ.1962 เครื่องบินรุ่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเป็น บี 852 เอช มันบินจากญี่ปุ่นไปยังเสปนเป็นระยะทาง 20,147 กิโลเมตร (12,519 ไมล์) โดยไม่หยุดพักเลย
โบอิ้ง บี 52

     ปี ค.ศ.1954 ล็อคฮีต ซี-130 ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อบรรทุกสัมภาระทางการทหาร มันใช้ระยะทางในการทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าเพียง 1.2 กิโลเมตร(4,000)เท่านั้น

     ปี ค.ศ.1964 ล็อคฮีด เอสอาร์ 71 ล็อดฮีด เอสอาร์ 71 ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องบินสอดแนมของทางการทหารที่บินได้สูงกว่าและมีความเร็วถึง 3,530 กิโลเมตร/ชั่วโมง(2,193ไมล์/ชั่วโมง) แต่ทุกวันนี้สายลับทางการทหารกลับกลายเป็นหน้าที่ของจานส่งสัญญาณดาวเทียม
เอสอาร์-71

     ปี ค.ศ.1969 ฮาร์เรียร์ จั๊มพ์ เจ็ท ตรงกันข้ามกับเฮอร์คิวลิสอย่างสิ้นเชิง ฮอว์คเกอร์ ซิดเดลีย์ จั๊มพ์ เจ็ท ไม่จำเป็นต้องใช้รันเวย์เลยด้วยซ้ำ มันถูกแนะนำตัวในปี ค.ศ.1969 ว่าเป็นเครื่องบินรบที่สามาถขึ้นลงในแนวดิ่ง(วีทีโอแอล)

     ปี ค.ศ.1969 โบอิ้ง 747 เครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง 747 สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากถึง 400 คน จากที่เคยบรรทุกผู้โดยสารได้เต็มที่ 274 คน โบอิ้ง 747 มีขนาดใหญ่กว่าเครื่องบินโดยสารรุ่นก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ค่าโดยสารของโบอิ้ง 747 ก็ถูกลงด้วย
โบอิ้ง 747

     ปี ค.ศ.1969 คองคอร์ด เครื่องบินโดยสารที่เร็วที่สุดในโลก เป็นเครื่องบินโดยสารที่บินเร็วระดับซุปเปอร์โซนิคหรือบินเร็วกว่าเสียง ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องบินโดยสารคองคอร์ดขึ้น โดยได้ให้บริการเที่ยวบินแรกในปี ค.ศ.1976 คองคอร์ดสมารถบินข้าม มหาสมุทรแอตแลนติกได้ในเวลาไม่ถึงสามชั่วโมง เมื่อมันบินผ่านจะมีเสียงดังเป็น 2 เท่าของเสียงฟ้าผ่าเลยทีเดียว ปัจจุบันได้เลิกทำการบินแล้ว

คองคอร์ด

     ปี ค.ศ.1979 กอสซาเมอร์ อัลเบทรอส คือเครื่องร่อนที่สามารถบินข้ามช่องแคบอังกฤษได้เป็นเครื่องแรกของโลก ราวกับตำนานของแดลาลุสกลายเป็นจริง ในขณะที่บินผ่านคลื่นลมโหมซัดจนเครื่องเกือบเสียหลักแต่ก็ไปถึงจุดหมายได้ในที่สุด

     ปี ค.ศ. 1983 เครื่องบินโจมตี เอฟ-117 เอ ด้วยความเร็วสูงและสมรรถนะเฉพาะตัวของ เอฟ-117 เอ ทำให้จอเรดาร์ไม่สามารถจับความเคลื่อนไหวของมันได้เนื่องจากมันถูกออกแบบมาเพื่อสมรภูมิรบโดยเฉพาะและสามารถบินได้ครึ่งค่อนโลกโดยไม่ต้องแวะเติมเชื้อเพลิงอีกด้วย
เอฟ-117 เอ

จะเห็นว่าเครื่องบินในช่วงแรกๆ นั้นจะสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นและความใฝ่ฝันของมนุษย์ในอดีตที่อยากจะบินได้เหมือนนก ต่อมาเครื่องบินก็ได้มีการนำมาใช้ในทางทหารพัฒนากลายมาเป็นอาวุธในการทำสงครามเห็นได้จากสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 จนกระทั่งในปัจจุบันเครื่องบินถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น


ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=aquarious&month=26-11-2008&group=6&gblog=15
        : http://kavepon33mtts.tripod.com/html/Development/Development2.htm
        : http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000050110




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น